วันอังคารที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2560

ตัวอย่าง Protocal ที่ทำงานใน OSI Model Layer

OSI Model Layer
Protocal
Physical Layer
CAT5,CAT6,RJ-45
Data Link Layer
PPP, SBTV, SLIP
Network Layer
IGMP, OSPF, RIP
Transport Layer
UDP, SCTP, DCCP
Session Layer
TCP, RTP, PPTP
Presentation Layer
SSL, TLS, XDR
Application Layer
NTP, DHCP, SMPP

BGP

Border Gateway Protocol (BGP)
          เป็น Protocol สำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลของเส้นทางระหว่าง gateway host  (ซึ่งแต่ละที่จะมี router ของตัวเอง) ในเครือข่ายแบบอัตโนมัติ    BGPมักจะได้รับการใช้ระหว่าง gateway host บนระบบอินเตอร์เน็ต ประกอบด้วยรายการของ router ตำแหน่งและตารางค่าใช้จ่าย (cost metric)  ของเส้นทางไปยัง router แต่ละตัว เพื่อการเลือกเส้นทางที่ดีที่สุด
          Host ที่ใช้การติดต่อด้วย BGP จะใช้ Transmission Control Protocol (TCP)  และส่งข้อมูลที่ปรับปรุงแล้วของตาราง router เฉพาะ host  ที่พบว่ามีการเปลี่ยนแปลง จึงมีผลเฉพาะส่วนของตาราง router ที่ส่ง BGP-4  เป็นเวอร์ชันล่าสุด ซึ่งให้ผู้บริหารระบบทำการคอนฟิก cost metric ตามนโยบาย

           การติดต่อด้วย BGP ของระบบ แบบอัตโนมัติที่ใช้ Internet BGP (IBGP)  จะทำงานได้ไม่ดีกับ IGP เนื่องจาก router ภายในระบบอัตโนมัติต้องใช้ตาราง  routing 2 ตาราง คือ ตารางของ IGP (Internet gateway protocol) และตารางของ  IBGP


ที่มา https://www.gotoknow.org/posts/482050
ภาพ http://cdn.ttgtmedia.com/digitalguide/images/Misc/intro_bgp_2.gif

PPP

PPP หรือ Point-to-Point Protocol เป็น Protocol สำหรับการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ 2 ตัว หรือ Router 2 ตัว ด้วยการอินเตอร์เฟซแบบอนุกรม ตามปกติ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่เชื่อม ด้วยสายโทรศัพท์ไปที่เครื่อง Server ของผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตให้ผู้ใช้ต่อเชื่อมด้วย PPP ทำให้เครื่อง Server สามารถตอบสนองคำขอของผู้ใช้ได้ PPP ยังแบ่งเป็นหลายแบบตามสื่อที่ใช้งาน PPP PAP และ PPP CHAP สำหรับการเชื่อมต่อผ่าน Serial port หรือ PPPoE และ PPPoA สำหรับการเชื่อต่อผ่านสายโทรศัพท์ของระบบ ADSL ซึ่งจะต้องมีการกำหนด Username และ Password ในการเชื่อต่อเสมอ PPP อยู่ใน Layer ที่ 2 (Data-link Layer) ของ OSI
ที่มา https://4.bp.blogspot.com/-fhweXE5Edik/
ภาพ http://jodoi.org/protocol.html


UDP : (User Datagram Protocol)

UDP : (User Datagram Protocol)
เป็นโปรโตคอลที่อยู่ใน Transport Layer เมื่อเทียบกับโมเดล OSI โดยการส่งข้อมูลของ UDP นั้นจะเป็นการส่งครั้งละ 1 ชุดข้อมูล เรียกว่า UDP datagram ซึ่งจะไม่มีความสัมพันธ์กันระหว่างดาต้าแกรมและจะไม่มีกลไกการตรวจสอบความสำเร็จในการรับส่งข้อมูล
กลไกการตรวจสอบโดย checksum ของ UDP นั้นเพื่อเป็นการป้องกันข้อมูลที่อาจจะถูกแก้ไข หรือมีความผิดพลาดระหว่างการส่ง และหากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ปลายทางจะได้รู้ว่ามีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น แต่มันจะเป็นการตรวจสอบเพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น โดยในข้อกำหนดของ UDP หากพบว่า Checksum Error ก็ให้ผู้รับปลายทางทำการทิ้งข้อมูลนั้น แต่จะไม่มีการแจ้งกลับไปยังผู้ส่งแต่อย่างใด การรับส่งข้อมูลแต่ละครั้งหากเกิดข้อผิดพลาดในระดับ IP เช่น ส่งไม่ถึง, หมดเวลา ผู้ส่งจะได้รับ Error Message จากระดับ IP เป็น ICMP Error Message แต่เมื่อข้อมูลส่งถึงปลายทางถูกต้อง แต่เกิดข้อผิดพลาดในส่วนของ UDP เอง จะไม่มีการยืนยัน หรือแจ้งให้ผู้ส่งทราบแต่อย่างใด


ที่มา https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/0/0f/Fig2_UDPwork.jpg
 ภาพ       http://www.tnetsecurity.com/content_basic/tcp_ip_knowledge.php

Infrared Data Association : IrDA)

ไออาร์ดีเอ (Infrared Data Association : IrDA)  เป็นโพรโทคอลใช้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กบอุปกรณ์สื่อสารแบบไร้สายระยะใกล้และไม่มีสิ่งกีดขวาง โดยใช้แสงอินฟาเรดในการติดต่อสื่อสาร และมีความเร็วในการส่งข้อมูล 115 Kbps – 4Mbps ผ่านพอร์ตไออาร์ดีเอ
แหล่งที่มา
 data-communication2009.blogspot.comdata-communication2009.blogspot.comhttp://data-communication2009.blogspot.com/2009/12/3.html

Wireless Fidelity : Wi-Fi

ไวไฟ (Wireless Fidelity : Wi-Fi)
1. เมื่อมีเทคโนโลยีเครือข่ายแบบไร้สาย (wireless lan) ที่พัฒนา จากสถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเลคโทรนิค หรือ Institute of Electricaland Electronics Engineering (IEEE) ภายใต้มาตรฐาน IEEE 802.11ใช้คลื่นวิทยุความถี่ 2.4 GHz
2. ไวไฟ (Wireless Fidelity : Wi-Fi) ไวไฟเกิดจากการรวมกลุ่มของผู้ผลิตอุปกรณ์แบบไร้สาย เพื่อ ทดสอบว่าอุปกรณ์ที่ผลิตทางานได้ตามมาตรฐานของ IEEE 802.11โดยเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่ได้รับการรับรองจากไวไฟ จะสามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้
3. ไวไฟ (Wireless Fidelity : Wi-Fi) ผู้ใช้งานในบ้านหรือสำนักงานขนาดเล็ก นิยมใช้ไวไฟในการ ติดตั้งระบบแลนไร้สาย (wireless LAN) โดยติดตั้งแผงวงจรหรื อุปกรณ์รับส่งไวไฟที่เรียกว่า การ์ดแลนไร้สาย (wireless LAN card)

4. ไวไฟ (Wireless Fidelity : Wi-Fi) รัศมีของการใช้งานแลนไร้สายขึ้นกับความสามารถในการรับส่งสัญญาณของอุปกรณ์ โดยทั่วไปจะอยู่ห่างจากจุดเชื่อมต่อแบบไร้สาย (wireless access point)ไม่เกิน 100 เมตรสาหรับการใช้งานภายในอาคาร และไม่เกิน 500 เมตรสาหรับการใช้งานที่โล่งนอกอาคาร
แหล่งที่มา
 data-communication2009.blogspot.comdata-communication2009.blogspot.comhttp://data-communication2009.blogspot.com/2009/12/3.html

bluetooth

บลูทูธ (bluetooth) เป็นโพรโทคอลที่ใช้คลื่นวิทยุความถี่ 2.4 GHz ในการรับส่งข้อมูลคล้ายกับแลนไร้สายตามมาตรฐาน IEEE 802.15มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ใช้งาน คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์ต่อพ่วงไร้สายอื่น ๆ เช่นเครื่องพิมพ์ เมาส์ คียบอร์ด ได้ โดยมาตรฐานบลูทูธสามารถส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วมากกว่า 3 Mbps

แหล่งที่มา

วันพุธที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2560

ARP (Address Resolution Protocol)

 ARP (Address Resolution Protocol) เป็น โปรโตคอลที่ใช้ในการสื่อสาร ทำหน้าที่ในการจับคู่ระหว่างไอพีแอดเดรสทางลอจิคัล กับ แอดเดรสทางทางฟิสิคัล ทั้งนี้เนื่องจากระบบของการส่งข้อมูลในระบบไอพีนั้น เป็นระบบที่ไม่ขึ้นกับฮาร์ดแวร์ใดๆ ซึ่งหมายความว่าระบบไอพีไม่มีความสามารถในการเรียกใช้ฮาร์ดแวร์ในการส่งข้อมูลด้วยตัวเอง ทำให้เมื่อระบบไอพีต้องการส่งข้อมูล จะต้องร้องขอบริการจากระดับชั้นดาต้าลิงค์ แต่เนื่องจากระดับชั้นดาต้าลิงค์ไม่รู้จักแอดเดรสในระบบไอพี ดังนั้นระบบไอพีจึงต้องทำการหาแอดเดรสที่ระดับชั้นดาต้าลิงค์รู้จัก ซึ่งก็คือฮาร์ดแวร์แอดเดรส เพื่อที่จะสร้างเฟรมข้อมูลในชั้นดาต้าลิงค์ได้ โดยโพรโตคอล ARP จะทำหน้าที่นี้การทำงานของ ARP เมื่อแพ็คเกตนำเข้าที่ระบุเครื่อง host ในระบบเครือข่ายมาถึง Gateway เครื่องที่ Gateway จะเรียกโปรแกรม ARP ให้หาเครื่อง Host หรือ MAC address ที่ตรงกับ IP Address โปรแกรม ARP จะหาใน ARP cache เมื่อพบแล้วจะแปลงแพ็คเกต เป็นแพ็คเกตที่มีความยาวและรูปแบบที่ถูกต้อง เพื่อส่งไปยังเครื่องที่ระบุไว้ แต่ถ้าไม่พบ โปรแกรม ARP จะกระจายแพ็คเกตในรูปแบบ บรอดคาสต์ ไปยังเครื่องทุกเครื่องในระบบ และถ้าเครื่องใดเครื่องหนึ่งทราบว่ามี IP Address ตรงกันก็จะตอบกลับมาที่ ARP โปรแกรม ARP จะปรับปรุง ARP Cache และส่งแพ็คเกตไปยัง MAC Address หรือเครื่องที่ตอบมา โพรโตคอล ARP ได้ถูกกำหนดไว้เป็นมาตรฐานภายใต้ RFC 826 โดยการทำงานของ ARP จะมีรูปแบบการทำงานในแบบ บรอดคาสต์ ดังนั้นเครือข่ายที่ใช้งานกับโพรโตคอล ARP ได้จึงต้องเป็นเครือข่ายที่มีการทำงานในแบบ บรอดคาสต์ ซึ่งระบบแลนส่วนใหญ่จะมีการทำงานเป็นแบบบรอดคาสต์อยู่แล้ว จึงสามารถทำงานร่วมกับโพรโตคอล ARPได้เป็นอย่างดี และนอกเหนือจากโพรโตคอล ARP แล้วยังมีอีกโพรโตคอลหนึ่งที่ถือว่าเป็นโพรโตคอลคู่แฝดของ ARP โดยจะมีการทำงานที่ย้อนกลับกันกับโพรโตคอล ARP ดังนั้นจึงมีชื่อว่า RARP (Reverse ARP) โดยกำหนดไว้ภายใต้ RFC 903 โดยรูปแบบเฟรมของ ARP และ RARP จะมีลักษณะเหมือนกัน



ข้อมูลอ้างอิง
https://sites.google.com/site/arpkku/home/arp-khux-xari

RARP (Reverse Address Resolection Protocol)

RARP (Reverse Address Resolection Protocol) เป็นโปรโตคอล ซึ่งเครื่องทางกายภาพ ในเครือข่าย LAN สามารถขอเรียนรู้ IP Address จากเครื่องแม่ข่าย gateway หรือตาราง Address Resolution Protocol ผู้บริหารเครือข่ายสร้างตารางใน gateway router ของเครือข่าย LAN ที่ใช้จับคู่ address ของเครื่องทางกายภาพ (หรือ Media Access Control address) ที่ตรงกับ Internet Protocol address เมื่อมีการติดตั้งเครื่องใหม่ โปรแกรมลูกข่ายของ RARP จะขอ RARP server จาก routerให้ส่ง IP address มาให้ สมมติว่ามีการตั้งค่าในตาราง router แล้ว RARP server จะส่งกลับ IP address ไปที่เครื่องซึ่งจะเก็บไว้สำหรับการใช้ต่อไป
     RARP มีให้กับเครือข่าย LAN แบบ Ethernet, Fiber Distributed-Data Interface และ Token ring



ที่มา http://www.widebase.net/knowledge/itterm/it_term_desc.php?term_id=RARP&term_group=R

        http://slideplayer.in.th/slide/2278350/8/images/10/Figure+7-10+RARP+operation.jpg

DHCP (Dynamic Host Configuration Protocol)

DHCP คืออะไร
DHCP ย่อมาจาก Dynamic Host Configuration Protocol คือโพรโทคอลที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ทำงานแบบแม่ข่ายกับลูกข่าย โดย DHCP ได้รับการยอมรับเป็นมาตราฐานในการใช้งานในเครือข่ายแทน BOOTP ซึ่งเป็นโพรโทคอลรุ่นเก่า ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1993 โดยในปัจจุบันนี้ DHCP ได้มีการพัฒนามาถึงเวอร์ชั่น DHCPv6 ใช้กับงานร่วมกับโพรโทคอล IPv6 และได้รับมาตราฐานในการใช้งานตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ค.ศ.2003
DHCP ทำหน้าที่อะไร

หน้าที่หลักๆของ DHCP (Dynamic Host Configuration Protocol) คือคอยจัดการและแจกจ่ายเลขหมายไอพีให้กับลูกข่ายที่มาเชื่อมต่อกับแม่ข่ายไม่ให้หมายเลขไอพีของลูกข่ายมีการซ้ำกันอย่างเด็ดขาด อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์ตัวหนึ่งได้ทำการเชื่อมต่อกับ DHCP Server เครื่องเซฟเวอร์ก็จะให้ หมายเลขไอพีกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มาทำการต่อเชื่อมแบบอัตโนมัติ ซึ่งไม่ว่าจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อมากเท่าไร DHCP Server ก็จะออกเลยหมายไอพีให้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องไม่ซ้ำกันทำให้เครือข่ายนั้นไม่เกิดปัญหาในการใช้งาน

ที่มา http://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net/dhcp/


IPX/SPX (Internetwork Packet Exchange/Sequenced Packet Exchange )

IPX/SPX (Internetwork Packet Exchange/Sequenced Packet Exchange )
                IPX เป็นโปรโตคอลชนิดหนึ่งที่ทำงานอยู่ในคอมพิวเตอร์ โดยส่วนมากแล้วจะทำงานควบคู่กับโปรโตคอล SPX โดยเราจะเห็นการเขียน IPX/SPX อยู่เสมอ ก่อนที่เราจะรู้จักโปรโตคอลตัวนี้ให้ดีเสียก่อนเราควรรู้จักก่อนว่าโปรโตคอลมีความสำคัญและมีหน้าที่อย่างไรในระบบเน็ตเวิร์ค


                  IPX/SPX ย่อมากจาก Internetwork Packet Exchange (IPX) และ Sequenced Packet Exchange (SPX) โดยโปรโตคอลทั้งสองตัวนี้จะทำงานประสานกันทุกครั้ง ซึ่งโปรโตคอลทั้งสองตัวนี้ได้รับการพัฒนามาจาก Novell โดยบริษัทนี้ได้นำโปรโตคอล XNS ของบริษัท Xerox Corporation มาพัฒนาต่อจนกลายเป็น IPX/SPX
หลักการทำงานของโปรโตคอล IPX/SPX ถ้าจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพก็ต้องแยกออกมาเป็นโปรโตคอล 2 ตัวด้วยกันคือ Internetwork Packet Exchange (IPX) ทำหน้าที่เหมือนกับพนักงานคัดแยะเอกสาร ซึ่งหน้าที่ของโปรโตคอลตัวนี้จะทำการหาปลายทางในการส่งและติดต่อกับผู้ส่ง โดยทำงานในระดับ Network Layer โดยทำงานอยู่ในเลเยอร์ที่ 3 ตามมาตราฐานของ OSI Model โดยโปรโตคอล IPX นี้จะทำงานแบบ connectionless และ unrerelible ซึ่งการทำงานแบบนี้ไม่จำเป็นต้องมีการเชื่อมต่อกับเครื่องที่ติดต่อกันอย่างถาวรหรือตลอดเวลา
ส่วนโปรโตคอล SPX นั้นจะเปรียบเทียบก็เป็น พนักงานส่งจดหมายหลังจาก IPX ได้ทำการหาปลายทางและทำการจัดส่งข้อมูลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว SPX จะนำข้อมูลไปส่งให้กับผู้รับซึ่งโปรโตคอลนี้จะทำงานอยู่ในระดับ transport layer โดยทำงานอยู่ในเลเยอร์ที่ 4 ตามมาตราฐาน OSI Model โดยมีการทำงานของโปรโตคอล SPX จะทำงานตรงกันข้ามกับโปรโตคอล IPX เนื่องจาก SPX จะต้องทำการติดต่อปลายทางให้ได้ก่อนถึงจะส่งข้อมูลผิดกับ IPX ไม่จำเป็นต้องติดต่อกับปลายทางก็สามารถส่งข้อมูลได้


ข้อมูลอ้างอิง
http://www.comgeeks.net/ipx/


TCP/IP (Transmission Control Protocol/ Internet Protocol)


TCP/IP 
      การที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกเชื่อมโยงกันไว้ในระบบ  จะสามารถติดต่อสื่อสารกันได้นั้น จำเป็นจะต้องมีภาษาสื่อสารที่เรียกว่า โปรโตคอล (Protocol ) ซึ่งในระบบInternet จะใช้ภาษาสื่อสารมาตรฐานที่ชื่อว่า TCP/IP เป็นภาษาหลัก ดังนั้นหากเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นเครื่องระดับไมโครคอมพิวเตอร์ มินิคอมพิวเตอร์ หรือเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ก็สามารถเชื่อมโยงเข้าสู่อินเทอร์เน็ตได้
TCP  ย่อมาจากคำว่า   Transmission Control Protocol
IP   ย่อมาจากคำว่า   Internet  Protocol
TCP/IP คือชุดของโปรโตคอลที่ถูกใช้ในการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถใช้สื่อสารจากต้นทางข้ามเครือข่ายไปยังปลายทางได้
และสามารถหาเส้นทางที่จะส่งข้อมูลไปได้เองโดยอัตโนมัติ

TCP และ IP มีหน้าที่ต่างกัน คือ
 1.  TCP จะทำหน้าที่ในการแยกข้อมูลเป็นส่วน ๆ หรือที่เรียกว่า Package ส่งออกไป ส่วน TCP ปลายทาง ก็จะทำการรวบรวมข้อมูลแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน เพื่อนำไปประมวลผลต่อไป โดยระหว่างการรับส่งข้อมูลนั้นก็จะมีการตรวจสอบความถูกต้องของ ข้อมูลด้วย ถ้าเกิดผิดพลาด TCP ปลายทางก็จะขอไปยัง TCP ต้นทางให้ส่งข้อมูลมาใหม่
 2.  IP จะทำหน้าที่ในการจัดส่งข้อมูลจากเครื่องต้นทางไปยังเครื่องปลายทางโดยอาศัย IP Address 


http://www.tnetsecurity.com/content_basic/images/tcp_ip1.gif

ข้อมูลอ้างอิง
http://www.ongitonline.com
http://www.bloggang.com
http://www.kmitl.ac.th
http://www.it-guides.com

ICMP (Internet Control Message Protocol)

     คือ การแจ้งหรือแสดงข้อความจากระบบ เพื่อบอกให้ผู้ใช้ ทราบว่า เกิดอะไรขึ้นในการส่งผ่านข้อมูลนั้น ซึ่งปัญหาส่วนมากที่พบคือ ส่งไปไม่ได้ หรือปลายทางรับข้อมูลไม่ได้ เป็นต้น นอกจากนี้ โปรโตคอล ICMP ยังถูกเรียกใช้งานจากเครื่อง Server และ Router อีกด้วย เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ใช้ควบคุม ส่วนรูปแบบการทำงานของโปรโตคอล ICMP นั้นจะทำควบคู่กับโปรโตคอล IP ในระบบเดียวกัน และข้อความต่าง ๆ ที่แจ้งให้ทราบจะถูกผนึกอยู่ภายในข้อมูล IP ( IP datagram) อีกทีหนึ่ง ข้อความที่โปรโตคอล ICMP ส่งนั้น แบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ ICMP Error Message หรือข้อความแจ้งข้อผิดพลาด และ ICMP Query หรือข้อความเรียกขอข้อมูลเพิ่ม ตัวอย่างกลไกการทำงานของโปรโตคอล ICMP เช่น เมื่อมีการส่งผ่านข้อมูลจากผู้ใช้ไปยังปลายทางที่ไม่ถูกต้อง หรือขณะนั้นเครื่องปลายทางเกิดปัญหาจนไม่สามารถรับข้อมูลได้ ที่ Router จะส่งข้อความแจ้งเป็น ICMP Message ที่ชื่อ Destination Unreachable ให้กับผู้ส่งข้อมูลนั้น นอกจากนี้ตัวข้อมูลที่แจ้งข้อความ ก็จะมีส่วนของข้อมูล IP Datagram ที่เกิดปัญหาด้วย ดังนั้น เมื่อผู้ส่งข้อมูลได้รับข้อความแจ้งแล้ว ก็จะทราบได้ว่า จุดที่เกิดปัญหานั้นอยู่ที่ใด
     ดังนั้นโปรโตคอล ICMP จึงกลายมาเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการช่วยทดสอบเครือข่าย เช่น คำสั่ง Ping ที่เรามักใช้ทดสอบว่าเครื่อง Server ที่ให้บริการหรืออุปกรณ์ที่ต่ออยู่ในเครือข่ายอินเตอร็เน็ตนั้นยังทำงานเป็นปกติหรือไม่ แล้วคำสั่ง Ping มีการเรียกใช้งานโปรโตคอล ICMP แจ้งเป็นข้อความให้ทราบอีกด้วยต่อหนึ่ง
 Internet Control Protocols

     กฎการควบคุมการสื่อสารข้อมูลบน Internet หมายถึงกฎระเบียบที่มีไว้ใช้ควบคุมการสื่อสารข้อมูลรวมถึงการแก้ไขข้อผิดพลาดต่างๆที่เกิดขึ้น ในส่วนนี้จะกล่าวถึงการควบคุมฯ 4 แบบคือ ICMP, ARP, RARP, และBOOTP
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ICMPคือ
ที่มา
http://amaneamisa.siam2web.com//?cid=1084628
http://realdev.truehits.net/tcpip/icmp_error.gif

IP (Internet Protocol)

IP (Internet Protocol)
              IP เป็นโปรโตคอลในระดับเน็ตเวิร์คเลเยอร์ ทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับแอดเดรสและข้อมูล และควบคุมการส่งข้อมูลบางอย่างที่ใช้ในการหาเส้นทางของแพ็กเก็ต ซึ่งกลไกในการหาเส้นทางของ IP จะมีความสามารถในการหาเส้นทางที่ดีที่สุด และสามารถเปลี่ยนแปลงเส้นทางได้ในระหว่างการส่งข้อมูล และมีระบบการแยกและประกอบดาต้าแกรม (datagram) เพื่อรองรับการส่งข้อมูลระดับ data link ที่มีขนาด MTU (Maximum Transmission Unit) ทีแตกต่างกัน ทำให้สามารถนำ IP ไปใช้บนโปรโตคอลอื่นได้หลากหลาย เช่น Ethernet ,Token Ring หรือ Apple Talk
               การเชื่อมต่อของ IP เพื่อทำการส่งข้อมูล จะเป็นแบบ connectionless หรือเกิดเส้นทางการเชื่อมต่อในทุกๆครั้งของการส่งข้อมูล 1 ดาต้าแกรม โดยจะไม่ทราบถึงข้อมูลดาต้าแกรมที่ส่งก่อนหน้าหรือส่งตามมา แต่การส่งข้อมูลใน 1 ดาต้าแกรม อาจจะเกิดการส่งได้หลายครั้งในกรณีที่มีการแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนย่อยๆ (fragmentation) และถูกนำไปรวมเป็นดาต้าแกรมเดิมเมื่อถึงปลายทาง




ข้อมูลอ้างอิง

http://www.tnetsecurity.com/content_basic/tcp_ip_knowledge.php

SMTP (Simple Mail Transfer Protocol)


SMTP  ย่อมาจาก  Simple Mail Transfer Protocol ตามความเข้าใจง่าย ๆ มันคือรูปแบบในการส่งอีเมล์อาจจะยังฟังดูเป็นคำที่เข้าใจสำหรับผู้อ่านที่ไม่มีความรู้ด้าน IT ดังนั้นจะขอเขียนอธิบายให้ง่ายขึ้นดังนี้สมมุติว่าคุณจะส่งจดหมาย ในกระบวนการส่งจดหมาย คุณก็ต้องเอาซองจดหมายนี้ไปส่ง ซึ่งในประเทศไทยก็จะมี ผู้ให้บริการรับส่งหลักๆคือ  ไปรษณีย์ไทย, Fedex, DHL เป็นต้น

 ซึ่งเวลาไปส่ง ผู้ให้บริการแต่ละเจ้าก็อาจจะมีข้อกำหนด เช่น คุณต้องระบุชื่อผู้ส่งด้วย ถ้าคุณไม่ระบุ อย่างนี้คุณส่งจดหมายไปข่มขู่คนอื่น ผู้รับก็ไม่มีทางรู้เลยว่า ใครเป็นผู้ส่ง บางเจ้าถึงกับต้องขอบัตรประชาชนของคุณไปยืนยันด้วยว่าคุณเป็นคนส่งจริง ๆ หรือ ถ้าคุณเคยมีประวัติอยู่กับเค้าแล้ว เค้าก็อาจจะไม่สนใจอะไรคุณมาก เพียงแค่กรอกข้อมูลผู้ส่งมาก็พอ เค้าก็จะไปเช็คในฐานข้อมูลว่าคุณคือใครเคยส่งอะไรแย่ๆ ไปหาคนอื่นหรือเปล่าถ้าไม่มี เค้าก็ยอมให้คุณส่งจดหมายได้อย่างง่าย ๆ

SMTP ก็เปรียบเสมือน ผู้ให้บริการส่งจดหมาย แต่จดหมายนี้มันอยู่ในรูปแบบ digital จับต้องไม่ได้ ดังนั้น ผู้ให้บริการแต่ละที่ก็ต้องตรวจสอบคุณก่อนเลยว่าคุณเป็นลูกค้าหรืออยู่ใน ฐานข้อมูลเค้าอยู่หรือไม่ ถ้าอยู่ ก็ยอมให้ส่งออกไป, smtp มักจะอยู่ในรูปแบบที่หลายๆคนคุ้นเคย คือ smtp.company.com เป็นต้น ซึ่งค่าเหล่านี้ จะถูกมอบให้โดยผู้ให้บริการ email server ของคุณ และ username ก็จะเป็นชื่ออีเมล์ของคุณ เช่น a@company.com , password ก็เป็น password เดียวกับ email


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง


ที่มา : http://article.technologyland.co.th/2013/08/whatissmtp.html