วันอังคารที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2560

ตัวอย่าง Protocal ที่ทำงานใน OSI Model Layer

OSI Model Layer
Protocal
Physical Layer
CAT5,CAT6,RJ-45
Data Link Layer
PPP, SBTV, SLIP
Network Layer
IGMP, OSPF, RIP
Transport Layer
UDP, SCTP, DCCP
Session Layer
TCP, RTP, PPTP
Presentation Layer
SSL, TLS, XDR
Application Layer
NTP, DHCP, SMPP

BGP

Border Gateway Protocol (BGP)
          เป็น Protocol สำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลของเส้นทางระหว่าง gateway host  (ซึ่งแต่ละที่จะมี router ของตัวเอง) ในเครือข่ายแบบอัตโนมัติ    BGPมักจะได้รับการใช้ระหว่าง gateway host บนระบบอินเตอร์เน็ต ประกอบด้วยรายการของ router ตำแหน่งและตารางค่าใช้จ่าย (cost metric)  ของเส้นทางไปยัง router แต่ละตัว เพื่อการเลือกเส้นทางที่ดีที่สุด
          Host ที่ใช้การติดต่อด้วย BGP จะใช้ Transmission Control Protocol (TCP)  และส่งข้อมูลที่ปรับปรุงแล้วของตาราง router เฉพาะ host  ที่พบว่ามีการเปลี่ยนแปลง จึงมีผลเฉพาะส่วนของตาราง router ที่ส่ง BGP-4  เป็นเวอร์ชันล่าสุด ซึ่งให้ผู้บริหารระบบทำการคอนฟิก cost metric ตามนโยบาย

           การติดต่อด้วย BGP ของระบบ แบบอัตโนมัติที่ใช้ Internet BGP (IBGP)  จะทำงานได้ไม่ดีกับ IGP เนื่องจาก router ภายในระบบอัตโนมัติต้องใช้ตาราง  routing 2 ตาราง คือ ตารางของ IGP (Internet gateway protocol) และตารางของ  IBGP


ที่มา https://www.gotoknow.org/posts/482050
ภาพ http://cdn.ttgtmedia.com/digitalguide/images/Misc/intro_bgp_2.gif

PPP

PPP หรือ Point-to-Point Protocol เป็น Protocol สำหรับการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ 2 ตัว หรือ Router 2 ตัว ด้วยการอินเตอร์เฟซแบบอนุกรม ตามปกติ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่เชื่อม ด้วยสายโทรศัพท์ไปที่เครื่อง Server ของผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตให้ผู้ใช้ต่อเชื่อมด้วย PPP ทำให้เครื่อง Server สามารถตอบสนองคำขอของผู้ใช้ได้ PPP ยังแบ่งเป็นหลายแบบตามสื่อที่ใช้งาน PPP PAP และ PPP CHAP สำหรับการเชื่อมต่อผ่าน Serial port หรือ PPPoE และ PPPoA สำหรับการเชื่อต่อผ่านสายโทรศัพท์ของระบบ ADSL ซึ่งจะต้องมีการกำหนด Username และ Password ในการเชื่อต่อเสมอ PPP อยู่ใน Layer ที่ 2 (Data-link Layer) ของ OSI
ที่มา https://4.bp.blogspot.com/-fhweXE5Edik/
ภาพ http://jodoi.org/protocol.html


UDP : (User Datagram Protocol)

UDP : (User Datagram Protocol)
เป็นโปรโตคอลที่อยู่ใน Transport Layer เมื่อเทียบกับโมเดล OSI โดยการส่งข้อมูลของ UDP นั้นจะเป็นการส่งครั้งละ 1 ชุดข้อมูล เรียกว่า UDP datagram ซึ่งจะไม่มีความสัมพันธ์กันระหว่างดาต้าแกรมและจะไม่มีกลไกการตรวจสอบความสำเร็จในการรับส่งข้อมูล
กลไกการตรวจสอบโดย checksum ของ UDP นั้นเพื่อเป็นการป้องกันข้อมูลที่อาจจะถูกแก้ไข หรือมีความผิดพลาดระหว่างการส่ง และหากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ปลายทางจะได้รู้ว่ามีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น แต่มันจะเป็นการตรวจสอบเพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น โดยในข้อกำหนดของ UDP หากพบว่า Checksum Error ก็ให้ผู้รับปลายทางทำการทิ้งข้อมูลนั้น แต่จะไม่มีการแจ้งกลับไปยังผู้ส่งแต่อย่างใด การรับส่งข้อมูลแต่ละครั้งหากเกิดข้อผิดพลาดในระดับ IP เช่น ส่งไม่ถึง, หมดเวลา ผู้ส่งจะได้รับ Error Message จากระดับ IP เป็น ICMP Error Message แต่เมื่อข้อมูลส่งถึงปลายทางถูกต้อง แต่เกิดข้อผิดพลาดในส่วนของ UDP เอง จะไม่มีการยืนยัน หรือแจ้งให้ผู้ส่งทราบแต่อย่างใด


ที่มา https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/0/0f/Fig2_UDPwork.jpg
 ภาพ       http://www.tnetsecurity.com/content_basic/tcp_ip_knowledge.php

Infrared Data Association : IrDA)

ไออาร์ดีเอ (Infrared Data Association : IrDA)  เป็นโพรโทคอลใช้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กบอุปกรณ์สื่อสารแบบไร้สายระยะใกล้และไม่มีสิ่งกีดขวาง โดยใช้แสงอินฟาเรดในการติดต่อสื่อสาร และมีความเร็วในการส่งข้อมูล 115 Kbps – 4Mbps ผ่านพอร์ตไออาร์ดีเอ
แหล่งที่มา
 data-communication2009.blogspot.comdata-communication2009.blogspot.comhttp://data-communication2009.blogspot.com/2009/12/3.html

Wireless Fidelity : Wi-Fi

ไวไฟ (Wireless Fidelity : Wi-Fi)
1. เมื่อมีเทคโนโลยีเครือข่ายแบบไร้สาย (wireless lan) ที่พัฒนา จากสถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเลคโทรนิค หรือ Institute of Electricaland Electronics Engineering (IEEE) ภายใต้มาตรฐาน IEEE 802.11ใช้คลื่นวิทยุความถี่ 2.4 GHz
2. ไวไฟ (Wireless Fidelity : Wi-Fi) ไวไฟเกิดจากการรวมกลุ่มของผู้ผลิตอุปกรณ์แบบไร้สาย เพื่อ ทดสอบว่าอุปกรณ์ที่ผลิตทางานได้ตามมาตรฐานของ IEEE 802.11โดยเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่ได้รับการรับรองจากไวไฟ จะสามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้
3. ไวไฟ (Wireless Fidelity : Wi-Fi) ผู้ใช้งานในบ้านหรือสำนักงานขนาดเล็ก นิยมใช้ไวไฟในการ ติดตั้งระบบแลนไร้สาย (wireless LAN) โดยติดตั้งแผงวงจรหรื อุปกรณ์รับส่งไวไฟที่เรียกว่า การ์ดแลนไร้สาย (wireless LAN card)

4. ไวไฟ (Wireless Fidelity : Wi-Fi) รัศมีของการใช้งานแลนไร้สายขึ้นกับความสามารถในการรับส่งสัญญาณของอุปกรณ์ โดยทั่วไปจะอยู่ห่างจากจุดเชื่อมต่อแบบไร้สาย (wireless access point)ไม่เกิน 100 เมตรสาหรับการใช้งานภายในอาคาร และไม่เกิน 500 เมตรสาหรับการใช้งานที่โล่งนอกอาคาร
แหล่งที่มา
 data-communication2009.blogspot.comdata-communication2009.blogspot.comhttp://data-communication2009.blogspot.com/2009/12/3.html

bluetooth

บลูทูธ (bluetooth) เป็นโพรโทคอลที่ใช้คลื่นวิทยุความถี่ 2.4 GHz ในการรับส่งข้อมูลคล้ายกับแลนไร้สายตามมาตรฐาน IEEE 802.15มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ใช้งาน คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์ต่อพ่วงไร้สายอื่น ๆ เช่นเครื่องพิมพ์ เมาส์ คียบอร์ด ได้ โดยมาตรฐานบลูทูธสามารถส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วมากกว่า 3 Mbps

แหล่งที่มา